หาเงินทำงานผ่านโทรศัพท์มือถือ" รับประกัน ได้เงินจริง "

ทำงานผ่านโทรศัพท์มือถือ ฟรี รับประกัน ได้เงินจริง   สมัครฟรี  คลิกที่ลิ้งค์นี้    https://yimresearch.net/public/register/register/refUserNa...

หาเงิน ออนไลน์ โฆษณาโปรโมท รอรับเงิน ไม่ต้องลงทุน

7 Tools คืออะไร


เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด แบบดั้งเดิม

}หมายถึงเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพในกระบวนการหรือสายงานผลิตที่มีปริมาณค่อนข้างมาก
}โดยเครื่องมือนี้มักจะมีส่วนช่วยค้นหาที่มาของปัญหาและสาเหตุความเป็นไปได้ของสภาพปัจจุบัน
}เพื่อที่จะหาวิธีแก้ไขต่อไปและกำหนดวิธีปฏิบัติและมาตรฐานในการทำงาน
เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด แบบใหม่

}เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวางแผน และป้องกันปัญหา เพื่อให้ได้นโยบาย และมาตรการเชิงรุกที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม
}เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่างประกอบด้วย
◦1) แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด
◦2) แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์
◦3) แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ
◦4) แผนภูมิเมตริกซ์
◦5) แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์
◦6) แผนภาพทางเลือกตัดสินใจ เพื่อบริหารความเสี่ยง


Seven New Q.C. Tools เกิดขึ้นเมื่อใด ?
คณะกรรมการเพื่อพัฒนาเครื่องมือควบคุมคุณภาพ ภายใต้การดูแล ของ J.U.S.E. ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 โดยมุ่งเน้นพัฒนาเทคนิคในการควบคุมคุณภาพ สำหรับ ให้ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่นำไปใช้งานใน ลักษณะของ design approach และ สามารถใช้งานร่วมกับ Original Basic Seven Tools ได้เป็นอย่างดีNew set of methods (N7) ถูกนำมาใช้ในปี 1977 เครื่องมือแบบใหม่มุ่งเน้นการนำไปใช้งานในลักษณะ:Developed to organize verbal data diagrammatically.ส่วนเครื่องแบบเดิม จะใช้งานได้ดีในลักษณะ:Data analysis, process control, and quality improvement (numerical data)การใช้เครื่องมือทั้งสองแบบทำให้ increases TQM effectiveness

ความสัมพันธ์ระหว่าง  New Seven Q.C. Tools กับ Basic Seven Tools
การตัดสินใจว่าจะใช้ Tool แบบเดิม หรือ แบบใหม่ จะขึ้นอยู่กับข้อมูลใน ขณะนั้น ๆ 
ถ้าข้อมูลเป็นตัวเลข ให้ใช้ Tool แบบเดิมมาทำการวิเคราะห์ปัญหา
ถ้าข้อมูลเป็น คำพูด ความรู้สึก ให้ใช้ New QC Tool เพื่อแจกแจง ปัญหา หาแนวทางแก้ไข (แล้วจึงใช้ Tool แบบเดิมช่วยในการเก็บ ข้อมูลมาทำ การวิเคราะห์ต่อไปก็ได้)
ขอให้พิจารณาจากรูปในหน้าถัดไป

ถ้าไม่ใช้ 7 New QC Tool แล้วจะเป็นอย่างไร?
ในกรณีที่ปัญหาที่เกิดขึ้นมีลักษณะที่ไม่เป็นโครงสร้าง ข้อมูลอยู่ในเชิงคำพูด เมื่อข้อมูลมากขึ้น การที่จะกำหนดขอบเขตของปัญหาจะยุ่งยากมากขึ้น ข้อมูล จะสับสนวกวน ทำให้กำหนดกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาได้ยาก เพราะความคิด จะวกวน กระจาย บางประเด็นอาจคลุมเครือ ไม่ชัดเจน 
จากการระดมความคิดในหัวข้อที่แล้วนั้น ข้อมูลที่ได้ต่าง ๆ จะถูกนำมาจัดกลุ่ม ก่อนเพื่อประเมินและกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา 7 New QC Tool จะช่วย ตรงนี้ได้มาก เพราะข้อมูลที่เกิดจากการระดมความคิดข้างต้น จะถูกจัดกลุ่ม และ เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ทำให้กลุ่มสามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจน มากขึ้น

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ New Seven Q.C. Tools (1)
ความสามารถที่ได้รับการสนับสนุนจาก New Seven Q.C. Tools
1) จัดระเบียบข้อมูลที่อยู่ในเชิงบอกเล่า หรือ คำพูด
2) ก่อกำเนิดความคิดเห็น
3) ปรับปรุงการวางแผน
4) ขจัดความผิดพลาดและการมองข้ามประเด็นที่อาจตกหล่น
5) อธิบายปัญหาอย่างชาญฉลาด ทำให้เข้าใจง่าย
6) รักษาความร่วมมือกันไว้อย่างเต็มที่
7) ชักชวนกันทำอย่างมีพลัง
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ New Seven Q.C. Tools (2)
กุญแจ 7 ดอกที่นำไปสู่การปฏิรูปวัฒนธรรมและองค์กร
1) ตรวจสอบสอบสถานการณ์ปัจจุบันในหลาย ๆ แง่มุม
2) บรรยายสถานการณ์ที่เผชิญอยู่อย่างชัดเจน
3) จัดลำดับความสำคัญของงานอย่างมีประสิทธิผล
4) ดำเนินการอย่างมีระบบ
5) คาดคะเนเหตุการในอนาคต
6) การเปลี่ยนแปลงเป็นไปในลักษณะเชิงรุก (Proactive)
7) ทำให้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ New Seven Q.C. Tools (3)
กุญแจ 5 ดอกสำหรับปลูกฝังวัฒนธรรมขององค์กร
1) แยกแยะปัญหาต่าง ๆ (Identifies problems) 
2) ให้ความสำคัญในการวางแผน (Gives importance to planning)
3) มุ่งเน้นไปยังส่วนสำคัญของกระบวนการ (Stresses the importance of the process)
4) กำหนดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritizes tasks)
5) ส่งเสริมให้ทุกคนมีความคิดเชิงระบบ (Encourages everyone to think systematically)

เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด 

1. แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)
2. ผังพาเรโต (Pareto diagram)
3. กราฟ (Graph)
4. ผังเหตุและผล (Cause & Effect diagram)
5. ผังการกระจาย (Scatter diagram)
6. แผนภูมิควบคุม (Control chart)
7. ฮิสโตแกรม (Histogram)


1.แผ่นตรวจสอบ (CHECK SHEET)
แผ่นตรวจสอบ คือ แบบฟอร์มที่มีการออกแบบช่องว่างต่าง ๆ ไว้เรียบร้อย เพื่อจะใช้ในการบันทึกข้อมูลได้ง่ายและสะดวก ถูกต้อง ไม่ยุ่งยาก ในการออกแบบฟอร์มทุกครั้งต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

วัตถุประสงค์ของการออกแบบฟอร์มในการเก็บข้อมูล
1. เพื่อควบคุมและติดตาม (Monitoring) ดูผลการดำเนินการผลิต
2. เพื่อการตรวจเช็ค
3. เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของความไม่สอดคล้อง 

ประเภทของแผ่นตรวจสอบ
1. แผ่นตรวจสอบการปฏิบัติงานประจำวัน
1.1 แผ่นตรวจสอบเพื่อใช้ดูการแจกแจงของข้อมูลอย่างง่าย
1.2 แผ่นตรวจสอบเพื่อการตรวจสอบยืนยัน
2.แผ่นตรวจสอบการตรวจสอบคุณภาพ
  2.1 แผ่นตรวจสอบสำหรับบันทึกของเสีย 
  2.2 แผ่นตรวจสอบแสดงสาเหตุของความบกพร่อง
  2.3 แผ่นตรวจสอบเพื่อใช้แสดงตำแหน่งจุดบกพร่องหรือจุดเกิดเหตุ

ขั้นตอนการออกแบบแผ่นตรวจสอบ

1. ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งชื่อ ของแผ่นตรวจสอบ
2. กำหนดปัจจัย (4M)
3. ทดลองออกแบบ กำหนดสัญลักษณ์
4. ทดลองนำไปใช้เก็บข้อมูล
5. ปรับปรุงแก้ไข ทดลองเก็บ
6. กำหนดการใช้แผ่นตรวจสอบ (5W 1H)
7. นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
8. แบบฟอร์มข้อมูลดิบ + แบบฟอร์มสรุป

ข้อควรจำในการออกแบบแผ่นตรวจสอบ
ต้องมีวัตถุประสงค์ในการใช้แผ่นตรวจสอบ
 กรอกข้อมูลสะดวก ง่ายต่อการบันทึก
 ยิ่งมีการเขียนหรือคัดลอกมากเท่าใด โอกาสผิดมากเท่านั้น
 สะดวกต่อการอ่านค่าหรือใช้ในการวิเคราะห์
 ต้องพอสรุปผลได้ทันทีที่กรอกข้อมูลเสร็จ
 ก่อนใช้แผ่นตรวจสอบจริงผู้ออกควรทดลองเก็บข้อมูลก่อนใช้จริง
 มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.แผนภูมิพาเรโต (PARETO DIAGRAMS)
เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุของความบกพร่องกับปริมาณความสูญเสียที่เกิดขึ้น

   จำนวนสาเหตุน้อยแต่มีมูลค่าความสูญเสียมาก  จำนวนสาเหตุมากแต่มีมูลค่าความสูญเสียน้อย
ซึ่งเรียกการวิเคราะห์แบบนี้ว่า “การวิเคราะห์แบบพาเรโต”

ประโยชน์ของผังพาเรโต
                   สามารถบ่งชี้ให้เห็นว่าหัวข้อใดเป็นปัญหามากที่สุด
 สามารถเข้าใจลำดับความสำคัญมากน้อยของปัญหาได้ทันที
 สามารถเข้าใจว่าแต่ละหัวข้อมีอัตราส่วนเป็นเท่าใดในส่วนทั้งหมด
 เนื่องจากใช้กราฟแท่งบ่งชี้ขนาดของปัญหา ทำให้โน้มน้าวจิตใจได้ดี
 ไม่ต้องใช้การคำนวณที่ยุ่งยาก ก็สามารถจัดทำได้
 สามารถใช้ในเปรียบเทียบผลได้
 ใช้สำหรับการตั้งเป้าหมาย ทั้งตัวเลขและปัญหา
ขั้นตอนการสร้างผังพาเรโต
1. ตัดสินใจว่าจะศึกษาปัญหาอะไร และต้องการเก็บข้อมูลชนิดไหน

2. กำหนดวิธีการเก็บข้อมูลและช่วงเวลาที่จะทำการเก็บ

ขั้นตอนการสร้างผังพาเรโต
3. ออกแบบแผ่นบันทึก
4. นำไปเก็บข้อมูล


ขั้นตอนการสร้างผังพาเรโต
5. นำข้อมูลมาสรุปจัดเรียงลำดับ

6. เขียนผังพาเรโต
เขียนกรอบของแผ่นกราฟให้มีแกนตั้งสองแกน แกนนอนหนึ่งแกน
แกนตั้งซ้ายมือให้แบ่งสเกลเท่า ๆ กัน โดยให้สเกลสูงสุดเท่ากับจุดบกพร่องที่ตรวจพบ
แกนตั้งขวามือแบ่งสเกลเป็น 0 – 100 % โดยให้จำนวน 100 % ตรงกับค่าสูงสุดของแกนตั้งซ้ายมือ
แกนนอน ให้แบ่งสเกลเท่า ๆ กันตามชนิดของข้อบกพร่องที่ทำการตรวจ และ ช่องสุดท้ายต้องเป็นช่องสำหรับ อื่น ๆ เสมอ


ขั้นตอนการสร้างผังพาเรโต


จากการตรวจสอบ Model : ABC แผนก ฉีด ประจำเดือน ตุลาคม 2543 จำนวน 5,000 ชิ้น พบชิ้นงานเสีย 200 ชิ้น คิดเป็น  4%

3.กราฟ   (Graphs)
    คือแผนภาพที่แสดงถึงตัวเลขหรือข้อมูลทางสถิติ   ที่ใช้ เมื่อต้องการนำเสนอข้อมูล  และวิเคราะห์ผลของข้อมูลดังกล่าวเพื่อทำให้ง่ายและรวดเร็วต่อการทำความเข้าใจ 

ใช้เพื่อ
1. อธิบาย  เช่น จำนวนของเสีย ผลการผลิต ยอดขาย เป็นต้น
2. วิเคราะห์        เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลในอดีต เทียบกับปัจจุบัน
3. ควบคุม  เช่น ระดับการผลิต ยอดขาย อัตราของเสีย น้ำหนัก  อุณหภูมิ เป็นต้น
4. วางแผน เช่น แผนการผลิต
5. ประกอบเครื่องมืออื่น เช่น ผังควบคุม  ฮีสโตแกรม
ชนิดของกราฟ

4) ผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)
   ในราวปี 1953 Dr. Ishikawa แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้เขียนสรุปความคิดเห็นของบรรดาวิศวกรที่เขาได้ร่วมสนทนาด้วยเกี่ยวกับปัญหาทางด้านคุณภาพของโรงงานแห่งหนึ่ง จึงกล่าวได้ว่า ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่มีการนำเอาผังแสดงแสดงเหตุและผลมาใช้ในวงการควบคุมคุณภาพ
ในทางปฏิบัติมักเรียกชื่อเป็นผังก้างปลา ( Fish-bone Diagram )ทั้งนี้เนื่องจากรูปร่างของผังมีลักษณะคล้ายก้างปลา
ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลที่เกิดขึ้นและแฟกเตอร์ที่ส่งผลกระทบต่อผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ โดยมุ่งเน้นที่ปัญหาที่ร้องเรียนขึ้นมาหรือปัญหาที่ยังไม่ได้ถกแถลง เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดผลที่ไม่ต้องการขึ้นมารวมถึงพื้นที่เป็นต้นเหตุ
ผังก้างปลา คือ ผังที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของปัญหา (ผล) กับปัจจัยต่าง ๆ (สาเหตุ) ที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการใช้ผังก้างปลา
นอกจากจะทำให้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาแล้ว
1. จะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความชำนาญและประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่ม
2. สามารถนำไปใช้ได้กับทุกประเภทของปัญหา
3. สามารถมองภาพรวมและความสัมพันธ์ของสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาได้ง่ายขึ้น

ขั้นตอนการสร้างผังก้างปลา
1. ชี้ลักษณะคุณภาพที่เป็นปัญหาออกมาให้ชัดเจน
2. ด้านขวาสุดเขียนปัญหาหรือความผิดพลาด ลากเส้นจากซ้ายไปขวามาที่กรอบหรือตัวปัญหา
3. เขียนสาเหตุหลักของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้องค์ประกอบ 4M
4. เขียนสาเหตุรองและสาเหตุย่อย ๆ ลงไป ที่ส่งผลต่อ ๆ กันไป
5. สำรวจดูว่ามีสาเหตุอื่นใดอีกหรือไม่
6. จัดลำดับความสำคัญมากน้อยของสาเหตุ เพื่อการแก้ไขต่อไป
7. เติมหัวข้อที่เกี่ยวข้องลงไป เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการผลิต วัน เดือน ปื ชื่อผู้ที่ระดมสมอง

ข้อสังเกตการสร้างผังก้างปลา
  • เป็นกลุ่มความคิดเห็นร่วมกันจากการระดมสมองอย่างเป็นระบบ
  • เขียนหัวปลา (ปัญหา) ให้กระชับ ชัดเจน
  • เจาะจงให้ชัดเจนในเรื่องขนาดและปริมาณด้วยข้อมูล ทั้งหัวปลาและก้างปลา
  • ต้องมีการแก้ไขเมื่อมีข้อมูลใหม่ที่ชัดเจน
  • อย่าพึงพอใจกับสาเหตุที่ได้เพียง 4 - 5 สาเหตุ เพราะสาเหตุแรก ๆ ที่เรารู้อยู่แล้วเป็นสาเหตุจากประสบการณ์ แต่สาเหตุหลัง ๆ จะเป็นสาเหตุที่ได้จากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยจะสังเกตได้ว่าถ้ามีเพียงไม่กี่สาเหตุเมื่อแก้ไขแล้วปัญหามักจะยังเกิดขึ้นอีก
  • ถ้าคิดว่าเป็นสาเหตุอื่น ๆ แน่นอนนอกจากการใช้สาเหตุหลัก 6M และ 1E แล้วก็ให้จำเพาะเจาะลงไปเลย
การสร้างผังก้างปลา
ขั้นตอนที่ 1  กำหนดปัญหาหรืออาการที่จะต้องหาสาเหตุ อย่างชัดเจน
   X  ฝ่ายบริการลูกค้าได้รับข้อร้องเรียนมากมาย
จำนวนลูกค้าที่ร้องเรียนเกี่ยวกับการจองตั๋วเครื่องบิน     แล้วที่นั่งซ้ำกันเพิ่มเป็น 3 เท่า เมื่อปีที่แล้ว



ขั้นตอนที่ 2  เขียนปัญหาให้อยู่ในช่องสี่เหลี่ยมด้านขวามือแล้วลาก        ลูกศรชี้มาที่ผล ดังรูป


ขั้นตอนที่ 3  ระดมสมองหาสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้   (ถ้านึกไม่ออกให้ใช้ 5 M’s(คน,เครี่องจักร, วัตถุดิบ, วิธีการ, การวัด) 
แล้วถามเสมอว่า “ ทำไมจึงเกิดขึ้น”, “ทำไมจึงเกิดขึ้น ”  จนกว่าจะหมดความคิดแล้ว


ขั้นตอนที่ 4  เขียนสาเหตุหลักที่น่าจะเป็นไปได้ ( 3 ถึง 6 สาเหตุ) ลงในช่องสี่เหลี่ยมแล้วลากเส้นมายังเส้นกลาง ดังรูป



ขั้นตอนที่ 5   เขียนสาเหตุรองโดยลากเส้นต่อจากเส้นสาเหตุหลักแล้วเขียนสาเหตุที่ปลายเส้น





การอ่านผังก้างปลา


1.  “ หิมะตกทำให้ถนนลื่น  ถนนลื่นทำให้ควบคุมรถไม่ได้ ”
2.  “ ควบคุมรถไม่ได้เนื่องจากถนนลื่น ถนนลื่นเนื่องจากหิมะตก ”


5.ผังการกระจาย (SCATTER DIAGRAM)

ผังการกระจาย คือ ผังที่ใช้แสดงค่าของข้อมูลที่เกิดจากความสัมพันธ์ของตัวแปรสองตัว ว่ามีแนวโน้มไปในทางใด เพื่อที่จะใช้หาความสัมพันธ์ที่แท้จริง




ตัวแปร X คือ ค่าที่ปรับเปลี่ยนไป
ตัวแปร Y คือ ผลที่เกิดขึ้นในแต่ละค่าที่เปลี่ยนแปลงของตัวแปร X


ควรเลือกใช้ผังการกระจายเมื่อไร

1. เมื่อต้องการจะบ่งชี้ สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
ค่าความเหนียวของเหล็กจะมากหรือน้อย  มีสาเหตุมาจากปริมาณคาร์บอนในเนื้อเหล็ก หรือจากรอยขีดข่วนที่เกิดขึ้นบนผิวเนื้อเหล็ก
2. เมื่อต้องการจะตัดสินใจว่า ผลกระทบ 2  ตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอยู่  มีปัญหาที่เกิดจากสาเหตุเดียวกัน   
ค่าความเหนียวของเหล็กจะมากหรือน้อย  เกิดจากสาเหตุปริมาณคาร์บอนในเนื้อเหล็ก
ค่าความแข็งของเหล็กจะมากหรือน้อย  เกิดจากสาเหตุปริมาณคาร์บอนในเนื้อเหล็ก
3. เมื่อต้องการใช้เป็นแนวทางตัดสินใจว่า  ในผังก้างปลาที่ได้จากการระดมสมองนั้น มีสาเหตุใด (ก้างปลาใด) ที่มีความสัมพันธ์ต่อผลกระทบ (หัวปลา)  
 อัตราการขาดงานของคนงาน เป็นสาเหตุทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่บกพร่องมีจำนวนมากขึ้น
4. เมื่อต้องการใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลหรือตัวแปร 2 ตัว ที่เราสนใจศึกษาว่า จะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่  อย่างไร 
ส่วนสูงมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักหรือไม่


การสร้างผังการกระจาย

การสร้างผังการกระจายเพื่อจัดเก็บข้อมูลหรือตัวแปร ( x ,y ) ที่ต้องการอย่างน้อย  30 คู่ โดยออกแบบ
เป็นรูปแบบตารางก่อนแล้วนำไปเขียนกราฟ
เป็นรูปแบบกราฟที่พล็อตข้อมูลได้เลย (ถ้าทราบค่าสูงสุด/ต่ำสุดของตัวแปร)



การหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร X และ Y
ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (ค่า r) คือ ค่าที่ใช้บ่งบอกดัชนีของความสัมพันธ์ของตัวแปร X และ  ว่ามีความสัมพันธ์กันในทิศทางใด
 ค่า r มีค่าระหว่าง -1 กับ 1
 ค่า r = 1 ค่าสหสัมพันธ์เป็น +
 ค่า r = -1 ค่าสหสัมพันธ์เป็น -
 ค่า r เข้าใกล้ 0 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีน้อย
  อาจมีคำถามว่า  r  ควรมีค่าเท่าไร  จึงจะเป็นที่ยอมรับว่าตัวแปรที่วิเคราะห์อยู่นั้นมีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีข้อกำหนดแน่นอน จะขึ้นอยู่กับความสำคัญและดุลยพินิจของผู้ที่กำลังศึกษาเรื่องนั้น

ตัวอย่างผังการกระจายของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตัวแปร X,Y



6.แผนภูมิควบคุม (CONTROL CHART)


คือ แผนภูมิที่มีการเขียนขอบเขตที่ยอมรับได้ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการควบคุมกระบวนการ โดยการติดตามและตรวจจับข้อมูลที่ออกนอกขอบเขต






ลักษณะข้อมูลถูกกำหนดให้เป็นจุด จะเกิดปรากฏการณ์ 2 แบบ
จุดทุกจุดอยู่ระหว่างพิกัดควบคุม เรียกว่า “ขบวนการอยู่ใต้การควบคุม”  (Under Control)
จุดบางจุดอยู่นอกเส้นพิกัดควบคุม เรียกว่า “ขบวนการอยู่นอกการควบคุม” (Out of Control)


การอ่านแผนภูมิควบคุม

1.  อยู่นอกจุดควบคุม


แสดงว่า  มีข้อมูลบางตัวหลุดออกนอกขอบเขตควบคุมไปแล้ว       อย่างชัดเจน


การอ่านแผนภูมควบคุม




3.  เกิดแนวโน้ม (TREND)



แสดงว่า  ค่าเฉลี่ยของขนาดที่ผลิตได้จากกระบวนการนี้กำลังมี    แนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ออกจากที่ตั้งไว้ครั้งแรก

4.  การเกิดวัฏจักร (PERIODICITY)


แสดงว่า     เกิดการหมุนเวียนของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในกระบวนการ โดยเมื่อครบ 1 รอบจะกลับมาอีกครั้ง จึงอาจใช้ทำนายผล ในอนาคตหรืออดีตที่ผ่านมาได้


7.ฮีสโตแกรม (Histogram)

    เป็นกราฟแท่งที่ใช้ดูความแปรปรวนของกระบวนการ โดยการสังเกตรูปร่างของฮีสโตแกรมที่สร้างขึ้นจากข้อมูลที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง

    ลักษณะต่างๆ ของฮีสโตแกรม
1. แบบปกติ (Normal Distribution)
   การกระจายของการผลิตเป็นไปตามปกติ ค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่จะอยู่ตรงกลาง
2. แบบแยกเป็นเกาะ (Detached Island Type)
   พบเมื่อกระบวนการผลิตขาดการปรับปรุง/หรือการผลิตไม่ได้ผล
3. แบบระฆังคู่ (Double Hump Type)
   พบเมื่อนำผลิตภัณฑ์ของเครื่องจักร 2 เครื่อง/2 แบบมารวมกัน
4. แบบฟันปลา (Serrated Type)
   พบเมื่อเครื่องมือวัดมีคุณภาพต่ำ หรือการอ่านค่ามีความแตกต่างกันไป
5. แบบหน้าผา (Cliff Type)
   พบเมื่อมีการตรวจสอบแบบ TOTAL INSPECTION เพื่อคัดของเสียออกไป


No comments:

Post a Comment

Popular Posts